ในปี
2113
ที่เทคโนโลยีต่าง
ๆ ในโลกพัฒนาขึ้นอย่างมหาศาล
ประเทศญี่ปุ่นได้นำระบบอัจฉริยะซีบิล
(Sibyl)
มาใช้ในการสร้างเสถียรภาพและระบบระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิตที่ดีให้แก่ผู้คนในสังคม
ผ่านการคำนวณค่าไซโค-พาส (Psycho-Pass)
ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา
การหางานทำ การเลือกคู่ครอง
ไปจนถึงความตาย
เพราะระบบซีบิลนั้นสามารถวัดค่าสัมประสิทธิ์อาชญากรรมของผู้คน
โดยคำนวณจากสุขภาพจิต
และสภาวะต่าง ๆ เพื่อบ่งชี้ว่าใครเป็นคนปกติ
และใครเป็นอาชญากรแฝงที่ต้องเข้ารับการบำบัดเพื่อกลับไปใช้ในชีวิตในสังคม
หรือถูกกำจัดทิ้ง
ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่บังคับใช้ระบบซีบิลนี้ในการกำจัดอาชญากรก็คือหน่วยสืบสวนอาชญากรรม
กรมรักษาความสงบ
กระทรวงสาธารณสุข
ซึ่งแบ่งหน้าที่กันเป็น
“หน่วยสังเกตการณ์” ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าระวัง
และสืบสวนสอบสวนคดีต่าง
ๆ เพื่อตามหาตัวอาชญากร
กับ “หน่วยปฏิบัติการ” ซึ่งมีหน้าที่เข้าจับกุมหรือกำจัดอาชญากร
และมี “โดมิเนเตอร์” อาวุธรูปร่างคล้ายปืนที่สามารถวัดและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานตามค่าสัมประสิทธิ์อาชญากรรมของคนร้ายได้
3
รูปแบบ คือ พาราไลเซอร์ สำหรับทำให้คนร้ายสลบ
ใช้จับกุมผู้ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อาชญากรรมสูงเกินเกณฑ์
เพื่อนำตัวไปบำบัด, อีลิมิเนเตอร์ สำหรับระเบิดร่างกายของคนร้าย
มักใช้กับผู้ที่มีค่าสัมประสิทธิ์อาชญากรรมสูงมาก
ๆ หรือได้ก่ออาชญากรรมไปแล้ว
และสุดท้ายคือ เดสทรอย ดีคอมโพสเซอร์ รูปแบบพลังทำลายล้างสูงที่มีไว้ใช้ในการทำลายสิ่งไม่มีชีวิตต่าง
ๆ เช่น สิ่งปลูกสร้าง หรือหุ่นยนต์
“สึเนโมริ อากาเนะ” นักเรียนดีเด่นจากโรงเรียนตำรวจได้รับการบรรจุเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่สังเกตุการณ์
หน่วยสืบสวนอาชญากรรม
แผนกที่ 1 ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ใส่แว่นพูดจาน่าตีปาก
(อินเนอร์ของผู้เขียน)
“กิโนสะ โนบุจิกะ” ไปพร้อม ๆ กับการบังคับบัญชาเหล่าอาชญากรแฝงที่ได้รับการยกเว้นการกำจัดโดยเข้ามาทำงานเป็นหน่วยปฏิบัติการ
ซึ่งหนึ่งในนั้นมี
“โคงามิ ชินยะ” ชายหัวขบถที่ค่าสัมประสิทธิ์อาชญากรรมสูงขึ้นจนกลายเป็นอาชญากรแฝงเพราะการสูญเสียในอดีต
ไซโค-พาส เป็นอนิเมะที่ผสมผสานแนวแอคชัน ไครม์-ฟิกชัน และไซเบอร์พังค์ มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ซีซัน โดยซีซันแรกมีความยาว 22 ตอน ผลิตโดยโปรดัคชั่น ไอ.จี ออกอากาศครั้งแรกในเดือนตุลาคมปี 2012 ทางสถานีโทรทัศน์ฟูจิทีวี และซีซันต่อมาอีก 11 ตอน ในเดือนตุลาคม ปี 2014 ที่ผานมา ด้านเนื้อเรื่องที่ทั้งสนุก ลึกลับ เข้มข้น และเสียดสีสังคมได้อย่างแยบยล ได้ “จอมมาร” อุโรบุชิ เก็น (สาวน้อยเวทมนตร์ มาโดกะ มาจิก้า) มารับหน้าที่เขียนบทในซีซันแรก ส่วนลายเส้นและดีไซน์ตัวละครที่มีเสน่ห์นั้นได้ อ.อามาโนะ อากิระ ผู้เขียนครูพิเศษจอมป่วน รีบอร์น มาร่วมออกแบบ
นอกจากฉบับอนิเมะแล้ว ไซโค-พาส ยังมีฉบับมังงะ ซึ่งใช้ชื่อว่า “เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ สึเนโมริ อากาเนะ” ฉบับไลท์โนเวล รวมไปถึงฉบับภาพยนตร์ ซึ่งในไทยเราพึ่งจะได้ดูกันไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
สำหรับแฟน ๆ หรือผู้ที่เคยดูไซโค-พาสมาก่อนแล้ว (ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ดูแล้วก็มักจะกลายเป็นแฟนตัวยงไปโดยปริยาย) และผู้ที่รู้จักชื่อเสียงของ “จอมมาร” เป็นอย่างดี ก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก แต่สำหรับมือใหม่ ต้องเตือนไว้ก่อนว่า อนิเมะเรื่องนี้ เล่นจริง เจ็บจริง ระเบิดจริง ร่างกายของคนร้ายเมื่อถูกอีลิมิเนเตอร์ยิงจะพองขึ้นจนระเบิด ตับ ไต ไส้ กระเพาะ ม้าม ปลิวให้เห็นกันจริง ๆ ฉากข่มขืน ฆ่า ฟันมือขาด มีจริง ๆ ฉะนั้นผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอกรุณาหลีกเลี่ยง (กระนั้นแล้ว อนิเมเรื่องนี้ก็เรตแค่ 15+ นะครับ..)
ผมเป็นมือใหม่สำหรับไซโค-พาส มาก ๆ คือเพิ่งจะไปซื้อมาดูเอาตอนที่ Dex ประกาศ LC ภาคหนังโรงแล้วเพื่อหาข้อมูลก่อนจะไปดูภาคหนังโรงให้เข้าใจ (ซึ่งก็ดูจบทันทีในไม่กี่วัน และกลายเป็นติ่งในเวลาแค่นั้นแหละ) ซึ่งเมื่อดูจบผมก็เข้าใจเป็นอย่างยิ่งว่าทำไมซีรีส์เรื่องนี้ถึงเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจผู้ชมทุกคนได้อย่างไร้กังขา มันเป็นซีรีส์ที่มีของจริง ๆ ครับ
ของประการแรกที่ทำให้ไซโค-พาส เป็นซีรีส์ที่หยุดดูไม่ได้คือ
“สัญญะ” เป็นสัญญะที่แฝงมากับเรื่องแนวไซเบอร์พังค์แทบทุกเรื่อง
นั่นก็คือ ณ วันหนึ่งเทคโนโลยีจะวิวัฒนาการไปจนถึงจุดที่มีประสิทธิภาพมากเกินไป
และจุดนั้นแหละที่อันตราย
ในอนิเมะเราจะเห็นผู้คนที่รู้สึกว่าระบบซีบิลคือระบบที่อำนวยความสะดวก
คำนวณให้เราหมด
ว่าเราสมควรจะเรียนอะไร
ไปทำงานอะไร แต่งงานกับใคร ไปจนถึงเราสมควรตายหรือไม่
แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนที่มองว่าระบบนี้กำลังพรากเอาเสรีภาพในการตัดสินใจของพวกเขาไป
แล้วสิ่งใดกันแน่เป็นสิ่งที่ถูก
ระหว่างประสิทธิภาพกับเสรีภาพ
และถึงแม้ว่าอนิเมะเรื่องนี้จะดำเนินเรื่องในอนาคตอีก
98
ปีจากวันนี้ แต่ก็น่ากลัวจนขนลุกเมื่อต้องเผชิญกับความจริงที่ว่า
จริง ๆ มนุษย์เราเผชิญกับข้อขัดแย้งนี้มาตั้งแต่หลายร้อยพันปีมาแล้ว
และจะเผชิญต่อไปจนถึงวันที่ระบบซีบิลกำเนิดขึ้นมาได้จริงแน่นอน
ประการต่อมาคือ “ความสัมพันธ์ของตัวละคร” ไซโค-พาส สร้างสรรค์ตัวละครทุกตัวขึ้นมาได้อย่างมีเสน่ห์ แทบจะไม่มีตัวประกอบใช้แล้วทิ้ง (แต่พอจะมีประเภทที่ใช้แล้วระเบิดทิ้งอยู่) การมีอยู่หรือจากไปของแต่ละคนเป็นเหตุเป็นผลในการพัฒนาขึ้นไปของตัวละครอื่น ๆ ตลอดเรื่องเราจะเห็นการพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกันของแต่ละคน ก่อนจะไปจบลงในตอนสุดท้ายของซีซัน 1 ซึ่งผมไม่ได้ชอบใจเท่าไหร่นัก แต่พอเทียบกับการมีซีซัน 2 แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ นี้แล้ว ตอนจบของซีซัน 1 ก็กลายเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ดีขึ้นมาทันที เพราะเราให้เห็นพัฒนาการของตัวละครถึงที่สุดแล้ว
ความสัมพันธ์ของตัวละครในไซโค-พาสนั้น หากพิจารณาโดยไม่ใส่แว่นตานักจิ้นแล้ว
บทไม่ได้เขียนมาเพื่อพยายามให้จิ้นใครกับใครเลย
แต่กระนั้นเราก็จะยังสัมผัสได้ถึงความสัมพันธ์ที่มันลึกซึ้ง
และไม่ต้องเอ่ยออกมาเป็นคำพูดหรืออะไร
เรียกว่าไม่ต้องมีรอมคอมมาแทรกให้น่ารำคาญคอแอคชันนั่นแหละ
ประการที่สามคือ “ความสะใจ” ครับ อย่างที่บอกว่าเรื่องนี้เล่นจริงเจ็บจริง ยิงกันหัวแบะจริง ฉะนั้นไม่ต้องถามว่าความสะใจจะมาจากไหน ซึ่งนอกจากจะมีฉากแอคชันยิงกัน ไล่ล่ากันแล้ว ความมันส์ทางวาจาก็ไม่แพ้กันครับ ตัวละครแต่ละตัวพูดจาเชือดเฉือนกันใช้ได้ ยิ่งเมื่อได้ตัวละครอย่างเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ชิโมสึกิเข้ามาร่วมทัพ ความหมั่นไส้อยากตบก็จะทวีคูณขึ้นแล้วเราก็จะดูซีรีส์ได้อย่างมีความสุขครับ
ไซโค-พาส ฉบับลิขสิทธิ์ในประเทศไทยถือโดย
Dex
ใครที่สนใจยังพอจะหาซื้อตั้งแต่แผ่นแรกได้ไม่ยาก
หรือง่ายกว่านั้นก็สตรีมดูกับทาง
Dex
Channel เลยก็ได้
คุณคิดว่าโลกจะเป็นอย่างไรถ้าทุกอย่างถูกตีค่าออกมาเป็นตัวเลขทั้งหมด คน ๆ นี้ไม่คู่ควรกับคน ๆ นี้ เพราะเขามีฐานะทัดเทียมกัน คน ๆ นี้ไม่คู่ควรกับสถานที่แห่งนี้ เพราะคุณค่าเขาไม่ทัดเทียมกัน คน ๆ นี้ไม่เหมาะกับอาชีพนี้ เพราะคุณค่าของเขาไม่เพียงพอที่จะทำ หรือแม้แต่ คน ๆ นี้ ไม่ควรมีชีวิต เพราะชีวิตของเขามี “ค่า” น้อยเกินไป
ในชีวิตจริงนั้นโลกของเรายังไม่มีระบบซีบิลที่สามารถตีค่าของสิ่งเหล่านี้ให้ออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่โดมิเนเตอร์นั้นไม่ได้อยู่ที่ไหนไกล
หากแต่เป็นที่ตาและจิตใจของมนุษย์นั้นเอง
เวลาเห็นคนแต่งตัวโทรม
ๆ เดินอยู่ในห้างหรู
โดมิเนเตอร์ของคุณตีค่าเขาอย่างไร
เขาคู่ควรจะอยู่ที่นั่นหรือไม่
เวลาเห็นคนสวยแต่งงานกับคนไม่หล่อ
คุณตีค่าของเขาทั้งคู่อย่างไร
คุณมองค่าของเขาทั้งสองคนต่างกันหรือไม่
คุณเองนั่นแหละ
ตัดสินคนอื่นหรือไม่
แน่นอนว่า
เราคงไม่สามารถจะหยุดทุกคนให้เลิกตีค่าคนอื่นได้
สิ่งที่เราทำได้นั้นก็คือการทำตัวเองให้มีค่าในตัวเอง
ไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร
นั่นแหละครับ สังคมจะสงบสุข
ชอบหง่า
ตอบลบ